เหล็ก วัสดุชิ้นสำคัญในงานโครงสร้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตึกใหญ่ หรือบ้านที่อยู่อาศัยส่วนตัว ต่างก็ต้องมีเหล็กเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น ซึ่งในปัจจุบันมีเหล็กหลายประเภทให้เลือกใช้ และช่างส่วนใหญ่อาจเคยได้ยินชื่อเหล็ก GI สำหรับงานโครงสร้างกันมาบ้าง ในบทความนี้ จะมาสรุปข้อมูลที่ควรรู้ ทั้งเหล็ก GI คืออะไร มีคุณสมบัติข้อดีอย่างไร รวมถึงมีความแตกต่างจากเหล็กดำอย่างไร ตามมาดูกันได้เลย

มารู้จักที่มาของเหล็ก GI คืออะไร

เหล็ก GI คือเหล็กประเภทหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มเหล็กพรีซิงค์กัลวาไนซ์ (Pre Zinc Galvanized Steel) เป็นเหล็กรูปพรรณชนิดหนึ่งที่ผ่านการเคลือบด้วยสังกะสี (Zinc) ก่อนการขึ้นรูปและรีดเพื่อนำมาแปรรูปม้วนเป็นเหล็กรูปพรรณ และพ่นสังกะสีกลบแนวเชื่อมด้านนอก โดยมีความหนาประมาณ 8-15 ไมครอน มีค่า Z ชั้นเคลือบตั้งแต่ Z07-Z08 ขึ้นไป ตามมาตรฐานของเหล็กแต่ละประเภท

 

เหล็กพรีซิงค์กัลวาไนซ์ นิยมใช้ในงานโครงสร้างทั่วไป เช่น เสา หลังคา บ้าน รั้ว ประตู หน้าต่าง ท่อประปา ท่อระบายน้ำ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ทนการกัดกร่อนดีมาก จากชั้นสังกะสีที่เคลือบอยู่จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเหล็กจากการเกิดสนิมและป้องกันการผุกร่อน รวมถึงมีราคาถูกกว่าเหล็กชุบกัลวาไนซ์แบบฮอทดิพกัลวาไนซ์ (Hot Dip Galvanized) ที่ใช้ในงานสร้างบ้านทั่วไป (ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ มอก.) อีกด้วย โดยเหล็กพรีซิงค์กัลวาไนซ์ ถูกแบ่งออกเป็นประเภทย่อย 3 ประเภทดังนี้

1. เหล็กกัลวาไนซ์ผิว GI

เป็นเหล็กที่ผ่านการเคลือบด้วยสังกะสี (Zinc) โดยผิวเหล็กจะมีความเงา มันวาว เหมาะสำหรับงานโครงสร้างทั่วไปที่ต้องการโชว์ความเงาของผิว กันสนิมได้ดีในระดับหนึ่ง และต้องการความรวดเร็ว ย่นระยะเวลาในการนำไปใช้งานประกอบ เช่น งานเฟอร์นิเจอร์ งานเหล็ก งานก่อสร้างบ้านทั่วไป หรือโรงเรือนต่าง ๆ

2. เหล็กกัลวาไนซ์ผิว GA

เหล็กที่มีส่วนผสมของสังกะสี (Zinc) ที่น้อยกว่าเหล็ก GI โดยผิวจะมีความด้านมากกว่า สีจะออกเทาเข้มมากกว่า มีความเงาในระดับหนึ่งแต่ไม่มันวาวเท่าเหล็ก GI เหมาะสำหรับงานที่ไม่ได้เน้นเรื่องสีของเหล็กและความกัดกร่อนของสารเคมี เหมาะกับงานที่ต้องการทาสี หรือมีแผนที่จะต้องทาสีอยู่แล้ว เช่น โรงเก็บผักผลไม้ ฟาร์มไก่ ฟาร์มหมู โรงเพาะ โรงเรือนทั่วไปที่ไม่ได้เน้นเรื่องการกัดกร่อนและกันสนิมมากนัก

3. เหล็กกัลวาไนซ์ผิว MAZ

เหล็กประเภทหนึ่งในหมวดเหล็กกัลวาไนซ์ ที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียม (Mg), ซิงค์ (Zn) และอะลูมิเนียม (AI) ช่วยป้องกันการกัดกร่อนได้เพิ่มขึ้น มีผิวมันวาวแบบเดียวกับเหล็กกัลวาไนซ์ GI แต่ต่างกันตรงมีส่วนผสมของอะลูมิเนียมเข้าด้วย สามารถใช้ทดแทนงานเหล็ก GI ได้ จึงเป็นที่นิยมในงานเหล็กต่อเติมทั่วไป งานต่อเติมบ้าน งานต่อเติมระเบียงโครงสร้างรองต่าง ๆ โครงหลังคาจอดรถ เป็นต้น

5 ข้อดีของเหล็ก GI

  1. สะดวกในการใช้งาน : เหล็ก GI ไม่จำเป็นต้องทาสีกันสนิมเพิ่ม ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง เมื่อเทียบกับเหล็กดำที่ต้องทาสีกันสนิมเป็นประจำ
  2. เนื้อเหล็กแข็งแรงและทนทาน : เหล็ก GI ยังคงมีความแข็งแรงและทนทานของเนื้อเหล็กอยู่ เนื่องจากกรรมวิธีกัลวาไนซ์ไม่ได้ทำให้โครงสร้างของเนื้อเหล็กเปลี่ยนแปลงไป สามารถนำไปใช้ในงานโครงสร้างได้หลากหลาย
  3. ความทนทานต่อการกัดกร่อนสูง : สังกะสีเป็นโลหะที่มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนสูง เมื่อเคลือบสังกะสีลงบนเหล็ก จะช่วยป้องกันการสัมผัสกับอากาศและความชื้น ซึ่งเป็นต้นเหตุการเกิดสนิมได้ ทำให้เหล็ก GI สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนได้สูง และมีอายุการใช้งานยาวนาน
  4. พื้นผิวสวยงาม : ข้อดีของเหล็ก GI คือ มีพื้นผิวเรียบ มีความมันวาว เมื่อเทียบกับเหล็กดำที่มีพื้นผิวหยาบและอาจเกิดสนิมได้ง่าย เหล็ก GI จึงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการความสวยงาม เช่น งานตกแต่งภายในและภายนอกอาคาร งานรั้ว งานเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
  5. ประหยัดค่าใช้จ่าย : ในการบำรุงรักษา เหล็ก GI ไม่ต้องทาสีกันสนิม จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ควรหมั่นตรวจสอบสภาพของเหล็กเป็นประจำ หากพบรอยขีดข่วนหรือความเสียหายที่อาจทำให้ชั้นสังกะสีเสียหาย ก็ควรรีบซ่อมแซมโดยเร็ว

สรุปชัด ข้อแตกต่างเหล็กดำกับเหล็กกัลวาไนซ์ GI

ข้อแตกต่างเหล็กดำกับเหล็กกัลวาไนซ์ GI

 

สำหรับในงานโครงสร้างเหล็กดำกับเหล็กกัลวาไนซ์ GI เป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมสูง ซึ่งทั้งสองชนิดเป็นเหล็กกล้าชนิดเดียวกัน มีความแข็งแรงและทนทาน แต่แตกต่างกันที่กรรมวิธีในการผลิต ทำให้ช่างหลายคนอาจเกิดความลังเลใจว่าจะเลือกใช้เหล็กชนิดไหนดี ลองดูข้อสรุปถึงคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ด้านคุณสมบัติ

เหล็กดำ เป็นเหล็กกล้าที่ผ่านกระบวนการรีดร้อนเพียงอย่างเดียว ทำให้เหล็กมีผิวสีดำและมีความไวต่อการกัดกร่อน ซึ่งแตกต่างจากเหล็ก GI ที่เป็นเหล็กกล้าและผ่านการเคลือบด้วยสังกะสีด้วยกรรมวิธีกัลวาไนซ์ ทำให้เหล็ก GI มีผิวสีเงินและมีความทนทานต่อการกัดกร่อนสูง

 

ทั้งเหล็กดำกับเหล็กกัลวาไนซ์ GI ต่างมีคุณสมบัติเรื่องความแข็งแรงและทนทานเหมือนกัน แต่เหล็ก GI สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนได้สูงกว่า เนื่องจากได้ผ่านกระบวนเคลือบชั้นสังกะสีไว้ด้านนอก เพื่อไม่ให้เกิดสนิม แต่เหล็กดำจะไม่ทนทานต่อการกัดกร่อน และมักเกิดสนิมได้ง่าย

2. ด้านอายุการใช้งาน

เหล็กดำมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าเหล็ก GI เนื่องจากไม่ได้ผ่านกระบวนการเคลือบกัลวาไนซ์มาตั้งแต่กระบวนการผลิต แต่สามารถนำเหล็กดำไปทาสีตามระบบของการทาสีน้ำมัน เพื่อทำการเคลือบทับหน้า ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานได้ แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มเติม

3. ด้านการนำไปใช้

อีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการเลือกใช้เหล็กในงานโครงสร้าง คือเรื่องต้นทุนในการทาสี เป็นขั้นตอนการเตรียมเหล็กให้พร้อมก่อนนำไปใช้งานจริง ซึ่งเหล็กดำเป็นเหล็กที่ต้องนำไปทาสีกันสนิม ลงน้ำมันสนและทินเนอร์ รวมถึงลงสีทาเหล็กก่อนนำไปใช้งาน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นมา รวมถึงต้องเผื่อวันสำหรับดำเนินการทาสีเพิ่มอีกด้วย แต่สำหรับเหล็ก GI นั้นไม่จำเป็นต้องทาสีเพิ่มเติม และสามารถนำไปใช้ได้เลย เพราะมีคุณสมบัติกันสนิมได้ดีอยู่แล้ว จึงช่วยลดระยะเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้เลย

 

ที่โลหะเจริญค้าเหล็ก ร้านจำหน่ายเหล็กรายใหญ่ในประเทศไทย ประสบการณ์ยาวนานกว่า 60 ปี คัดสรรเหล็กฉากพับ ราคาดี ที่มีการเพิ่มระบบป้องกันสนิม หรือเหล็กฉาก GI ชุบกัลวาไนซ์ เพื่อยืดอายุการใช้งาน สะดวก ทั้งยังประหยัดเวลาทำสีกันสนิมอีกด้วย พร้อมให้บริการอย่างมืออาชีพด้วยผลิตภัณฑ์เหล็กที่ได้คุณภาพมาตรฐาน

 

สามารถเข้าชมและเลือกซื้อสินค้าได้ทางเว็บไซต์ หรือสอบถามเพิ่มเติมเพื่อรับคำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญได้ที่เบอร์ 02-291-5050-8 และทาง LINE Official @lohah