เหล็กเอชบีม (H-Beam) เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ที่มีหน้าตัดเป็นรูปตัว H มีคุณสมบัติแข็งแรงและทนทาน สามารถรับน้ำหนักได้มาก และประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ รวมถึงนิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้างอาคาร และโครงสร้างขนาดใหญ่ ซึ่งการติดตั้งเหล็กเอชบีมเป็นอีกขั้นตอนสำคัญที่สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของเหล็กเอชบีม ในบทความนี้ จะมาสรุปให้ได้รู้กัน
การติดตั้งเหล็กเอชบีม (H-Beam)
การติดตั้งเหล็กเอชบีม (H-Beam) เป็นขั้นตอนที่สำคัญในงานก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ เช่น โรงงาน โกดัง ห้างสรรพสินค้า เนื่องจากเหล็กเอชบีมเป็นโครงสร้างหลักที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของอาคารไว้ ดังนั้น นอกจากการเลือกวัสดุที่มีคุณภาพแล้ว การเลือกวิธีการติดตั้งเหล็กเอชบีมก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ควรเลือกให้เหมาะสม
ข้อดีของการติดตั้งเหล็กเอชบีม
• แข็งแรงและทนทาน : เหล็กเอชบีมรูปทรงตัว H ที่มีคุณสมบัติแข็งแรงและทนทาน อีกทั้งยังสามารถรับแรงสั่นสะเทือนและแผ่นดินไหวได้ดีกว่าโครงสร้างระบบอื่น ทำให้เป็นที่นิยมในงานก่อสร้างอาคาร เสา คาน โครงหลังคา ที่ต้องการโครงสร้างมั่นคงและแข็งแรง
• ติดตั้งง่าย : เหล็กเอชบีมมีน้ำหนักเบา ประหยัดเหล็กช่วงฐานราก สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็วกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำให้อาคารสามารถเปิดใช้งานได้เร็วมากขึ้น
• ประหยัดค่าใช้จ่าย : การติดตั้งเหล็กเอชบีมมีราคาไม่สูง เมื่อเทียบกับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก จึงช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างและสามารถนำวัสดุมาหมุนเวียนได้ 100%
• ยืดหยุ่นในการออกแบบ : เหล็กเอชบีมสามารถนำไปจัดวางได้หลากหลายรูปแบบ ช่วยในการออกแบบโครงสร้างให้มีช่วงเสากว้างกว่าโครงสร้างระบบอื่น ไม่เปลืองพื้นที่ใช้งาน จึงเหมาะสำหรับอาคารที่ต้องการรูปแบบเฉพาะ เช่น ทำโครงสร้างโปร่ง ดัดโค้ง หรือทำส่วนยื่นได้มาก
• ปลอดภัย : เหล็กเอชบีมเป็นวัสดุที่ไม่ติดไฟ จึงช่วยลดความเสี่ยงจากไฟไหม้ และช่วยให้ระหว่างการก่อสร้างไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง รวมถึงสามารถตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพ และบำรุงรักษาได้สะดวกกว่าโครงสร้างอื่น
เทคนิคการติดตั้งเหล็กเอชบีม
ระบบเชื่อม Welded Connection
เป็นการเชื่อมเหล็กเอชบีมเข้ากับฐานราก หรือโครงสร้างอื่น ๆ โดยใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เป็นรูปแบบการติดตั้งที่เหมาะกับเหล็กเอชบีมขนาดใหญ่และรับน้ำหนักมาก นิยมใช้สำหรับงานก่อสร้างงานโครงสร้าง เช่น โครงสร้างโรงงาน โกดัง โรงจอดรถ เป็นต้น
• ข้อดี : เป็นวิธีที่ติดตั้งได้ง่าย สามารถยึดติดได้แน่นหนา มีความแข็งแรงและมีต้นทุนต่ำ จึงช่วยประหยัดค่าวัสดุและค่าก่อสร้างได้
• ข้อจำกัด : เป็นการติดตั้งที่ไม่สะดวกกับหน้างานที่อยู่สูง ดังนั้น จึงต้องตรวจดูสภาพอากาศก่อนการติดตั้ง เช่น มีลมแรงหรือฝนตก ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน หรือเกิดความล่าช้าขึ้นได้
วิธีติดตั้งเหล็กเอชบีมด้วยการเชื่อม
1. ตรวจสอบขนาดและตำแหน่งที่ต้องการติดตั้งเหล็กเอชบีมให้เหมาะสมกับงาน
2. ทำความสะอาดพื้นผิวของเหล็กเอชบีมและฐานรากหรือโครงสร้างที่จะติดตั้งให้สะอาด โดยใช้แปรงเหล็กหรือกระดาษทรายขัดให้เรียบ
3. ทาสารเชื่อมหรือเชื่อมอุดรอยต่อระหว่างเหล็กเอชบีมและฐานรากหรือโครงสร้าง เพื่อป้องกันการเกิดสนิมและรอยแตกร้าว
4. เชื่อมเหล็กเอชบีมเข้ากับฐานรากหรือโครงสร้างให้แข็งแรง โดยเชื่อมจุดเชื่อมให้ทั่วถึงและสม่ำเสมอ
ระบบขันนอต Bolted Connection
เป็นการเจาะรูที่เหล็กเอชบีมแล้วขันนอตเข้ากับฐานรากหรือโครงสร้างอื่น ๆ เหมาะกับเหล็กเอชบีมขนาดเล็กและรับน้ำหนักน้อย นิยมใช้สำหรับงานที่ต้องการรื้อถอนไปประกอบใหม่ หรือ โครงสร้างสำเร็จรูป
• ข้อดี : สามารถเตรียมชิ้นส่วนทั้งหมดให้เสร็จสิ้นได้ตั้งแต่ที่โรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมประกอบชิ้นงาน การเจาะรูเตรียมรอยต่อ การทำสี และการระบุเครื่องหมายชิ้นส่วน ซึ่งเมื่อถึงหน้างานก็พร้อมยกเพื่อขึ้นติดตั้งได้ทันที เป็นวิธีการติดตั้งที่จะช่วยให้การทำงานประกอบโครงสร้างในที่สูงดำเนินไปได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
• ข้อจำกัด : มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าระบบเชื่อม และต้องใช้ช่างเชื่อมที่มีความชำนาญสูงในการอ่านแบบที่ชัดเจนและเลือกอุปกรณ์การติดตั้งให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการนำเทมเพลตมาประกับ การเจาะตัด หรือการขันเกลียว เป็นต้น
วิธีติดตั้งเหล็กเอชบีมด้วยการขันนอต
1. ตรวจสอบขนาดและตำแหน่งที่ต้องการติดตั้งเหล็กเอชบีม
2. เจาะรูที่เหล็กเอชบีมตามตำแหน่งที่ต้องการขันนอต
3. ทำความสะอาดพื้นผิวของเหล็กเอชบีมและฐานรากหรือโครงสร้างที่จะติดตั้งให้สะอาด
4. ทาสารกันสนิมหรือเชื่อมอุดรอยต่อระหว่างเหล็กเอชบีมและฐานรากหรือโครงสร้าง
5. ขันนอตเหล็กเอชบีมเข้ากับฐานรากหรือโครงสร้างให้แน่น
ข้อควรระวังในการติดตั้งเหล็กเอชบีม
ข้อควรระวังในการติดตั้งแบบเชื่อม
• อันตรายจากไฟฟ้าดูด : ควรตรวจสอบอุปกรณ์เชื่อมให้อยู่ในสภาพดี รวมถึงต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า เช่น ถุงมือและรองเท้าป้องกันไฟฟ้า
• อันตรายจากความร้อน : ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันความร้อน เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ถุงมือ หมวก และแว่นตาป้องกันรังสี
• อันตรายจากสะเก็ดไฟ : ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันสะเก็ดไฟ เช่น แว่นตาป้องกันรังสี หน้ากากเชื่อม และผ้ากันเปื้อน
• อันตรายจากสารเคมี : ควรทำงานในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี และสวมหน้ากากป้องกันแก๊ส
• อันตรายจากไฟไหม้ : ควรทำงานในพื้นที่ที่ปราศจากวัสดุไวไฟ และควรมีอุปกรณ์ดับเพลิงพร้อมใช้งาน
ข้อควรระวังในการติดตั้งแบบขันนอต
• เลือกใช้นอตและอุปกรณ์ขันนอตที่เหมาะสมกับงานขันนอตเหล็ก เช่น นอตเกลียวมิล สกรูเกลียวปล่อย เป็นต้น นอตและอุปกรณ์ขันนอตที่มีขนาดและเกลียวไม่เหมาะสม อาจทำให้การขันนอตไม่แน่นหรือหลุดออกได้
• การขันนอตเหล็กควรดำเนินการอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของช่างและโครงสร้าง ควรขันนอตให้แน่นพอที่จะรับน้ำหนักของโครงสร้าง แต่ไม่ควรขันนอตแน่นเกินไป เพราะอาจทำให้นอตเสียหายได้
• หลังขันนอตเหล็ก ควรตรวจสอบนอตและอุปกรณ์ขันนอตอย่างละเอียด เพื่อหานอตที่หลวมหรืออุปกรณ์ขันนอตที่ชำรุด ซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของโครงสร้าง ควรขันนอตให้แน่นขึ้น หรือเปลี่ยนนอตใหม่ หากพบว่านอตหลวม
เมื่อได้รู้วิธีติดตั้งเหล็กเอชบีมในรูปแบบต่าง ๆ และมีความสนใจจะเลือกใช้เหล็กเอชบีมในงานโครงสร้าง สามารถมาเลือกซื้อเหล็กเอชบีมคุณภาพดี ราคาส่ง ได้เลยที่ โลหะเจริญค้าเหล็ก เราคือผู้นำด้านจัดจำหน่ายเหล็กเอชบีมที่ผ่านการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำโดยทีมงานมืออาชีพ นึกถึงเหล็กคุณภาพดี ต้องที่โลหะเจริญค้าเหล็กเท่านั้น
สามารถเข้าชมและเลือกซื้อสินค้าได้ทางเว็บไซต์ หรือสอบถามเพิ่มเติมเพื่อรับคำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญได้ที่เบอร์ 02-291-5050-8 และทาง LINE Official @lohah